วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์

เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้

ประเภทของเมฆ

เมฆชั้นสูง (High Clouds) 

เกิดขึ้นที่ระดับสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร

เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus)

Picture


เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ
มักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง

เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)

Picture


เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสงต่อแสงอาทิตย์   บางครั้งหักเหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง

เมฆเซอรัส (Cirrus)

Picture


เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก เป็นผลึกน้ำแข็ง
มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds)

เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร

เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)

Picture


เมฆก้อน สีขาว มีลักษณะคล้ายฝูงแกะ ลอยเป็นแพ มีช่องว่างระหว่างก้อนเล็กน้อย

เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus)

Picture


เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทา เนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอดผ่าน   และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้างมาก หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด

เมฆชั้นต่ำ (low cloud)

จะมีระดับความสูงจากพื้นไม่เกิน 6,500 ฟุต

 สตราโตคิวมูลัส(Stratocumulus)

Picture


มีลักษณะค่อนข้างกลมมากกว่าแบน  สีเทา  เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ  มักอยู่ชิดติดกันจนเป็นลูกคลื่น  ทนทานต่อกระแสลมไม่อ่อนไหวง่าย เมฆชนิดนี้แสดงถึงสภาวะอากาศที่อาจจะมีฝนตกในบริเวณนั้นแต่ถ้าเบาบางลงอากาศก็แจ่มใส

สเตรตัส(Stratus)

Picture



เมฆที่อยู่ต่ำสุดและอยู่ในแนวนอนคล้ายหมอกหรือคล้ายแผ่นฟิล์มบาง ๆ ทำให้ท้องฟ้ามีลักษณะเป็นฝ้าเกิดจากหมอกที่ลอยขึ้นมาจากพื้นดิน มักปรากฏในตอนเช้ามืดหรือสาย  หรือหลังฝนตก

นิมโบสเตรตัส(Nimbostratus)

Picture

มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาแก่สม่ำเสมอ  ทำให้ท้องฟ้ามืดครึ้มแผ่กว้างออกไปไม่เป็นรูปร่าง ซึ่งเป็นเมฆที่ก่อให้เกิดฝนตกต่อเนื่องคือ เมฆฝน


เมฆแนวตั้ง (Vertical Clouds) 
             เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน โดยความสูงของฐานเมฆเฉลี่ย 1,600 ฟุต หรือ 500 เมตร ความสูงของยอดเมฆเฉลี่ยถึงระดับสูงของเมฆเซอรัส
             - เมฆคิวมูลัส (Cumulus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนามียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้งกระจัดกระจายเหมือนสำลี ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ หรือลอยอยู่โดดเดี่ยวแสดงถึงสภาวะอากาศดี ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง
             - เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่งที่ใช้ในการตีเหล็ก (anvil) ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อาจอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า “เมฆฟ้าคะนอง” 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น